วันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ประวัติและปฏิปทา (หลวงพ่อเปิ่น ฐิตคุโณ)


วัดบางพระ 

ต.บางแก้วฟ้า อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม 

๏ อัตโนประวัติ 
“พระอุดมประชานาถ” หรือ “หลวงพ่อเปิ่น ฐิตคุโณ” มีนามเดิมว่า เปิ่น ภู่ระหงษ์ เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๖๖ ตรงกับวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๙ ปีกุน ครั้งนั้นในแถบถิ่นเมืองนครชัยศรี ได้มีทารกน้อยซึ่งมากล้นด้วยบุญญาธิการมาอุบัติด้วยลักษณะที่ผิวพรรณผ่องใสผิดไปจากพี่น้องซึ่งอยู่ด้วยกัทั้งหมดเวลานั้น ณ บ้านเลขที่ ๔ หมู่ที่ ๔ ตำบลบางแก้วฟ้า อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม โยมบิดา-โยมมารดาชื่อ นายฟัก และนางยวง ภู่ระหงษ์ ครอบครัวประกอบอาชีพทำไร่ทำนาอันเป็นอาชีพหลักของชาวบ้านในแถบนั้น มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด ๑๐ คน 
ท่านเป็นบุตรคนที่ ๙ มีชื่อตามลำดับดังนี้ 
๑. นางจันทร์ อ่ำระมาด (ถึงแก่กรรมแล้ว)
๒. นางอินทร์ คงประจักษ์ (ถึงแก่กรรมแล้ว)
๓. นายเถิ่ง ภู่ระหงษ์ (ถึงแก่กรรมแล้ว)
๔. นายชุ ภู่ระหงษ์ (ถึงแก่กรรมแล้ว)
๕. นางไว ภู่ระหงษ์ (ถึงแก่กรรมแล้ว)
๖. นายเลื่อน ภู่ระหงษ์ (ถึงแก่กรรมแล้ว)
๗. นายไล้ ภู่ระหงษ์ (ถึงแก่กรรมแล้ว)
๘. นางรอง ภู่ระหงษ์ (ถึงแก่กรรมแล้ว)
๙. หลวงพ่อเปิ่น ฐิตคุโณ (มรณภาพแล้ว)
๑๐. นางอางค์ เฮงทองเลิศ

๏ ชีวิตปฐมวัย
ชีวิตปฐมวัยขององค์ท่านหลวงพ่อเปิ่น นับว่าเป็นเรื่องที่น่าศึกษาอย่างเป็นที่สุด ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่าในสมัยนั้นแถบถิ่นลุ่มแม่น้ำนครชัยศรี อุดมมากไปด้วยวิชาอาคม อาจเนื่องด้วยที่นั่นไกลปืนเที่ยง ในตอนนั้นการเรียนรู้วิชาเอาไว้เพื่อป้องกันตัวจึงถือเป็นหนึ่งในลูกผู้ชายทุกคนจักพึงมี หลวงพ่อเปิ่นสนใจในเรื่องของไสยศาสตร์มาตั้งแต่สมัยเด็ก อาศัยว่าครอบครัวของท่านอยู่ใกล้กับ วัดบางพระ ตำบลบางแก้วฟ้า อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ซึ่งในสมัยนั้นมีพระคุณเจ้าที่พำนักจำพรรษาอยู่ที่วัดบางพระ มีความเก่งกาจมีความเชี่ยวชาญในสายไสยศาสตร์หลายองค์ เด็กชายเปิ่น ภู่ระหงษ์ จึงเข้าออกเพื่อความอยากรู้อยากใฝ่หาในวิชาอยู่กับวัดบางพระเป็นประจำ ในช่วงนี้เองโยมบิดาซึ่งเห็นแววของเด็กชายเปิ่นมาตั้งแต่เล็กๆ ว่ามีจิตใจอันเด็ดเดี่ยวและมีสัจจะเป็นยอด จึงได้ถ่ายทอดความรู้ รวมทั้งวิทยาการ คาถาอาคมที่โยมบิดาพอมีอยู่ให้กับเด็กชายเปิ่น ถือเป็นรากฐานเบื้องต้นตั้งแต่บัดนั้น ครั้นต่อมาครอบครัวย้ายไปตั้งรกรากทำมาหากินที่จังหวัดสุพรรณบุรี บ้านทุ่งคอก ตำบลทุ่งคอก อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ณ ที่นี่เองที่เด็กชายเปิ่นได้ฉายความเป็นนักเลงจริง เป็นคนจริงให้เห็น เพราะการอยู่ในดงนักเลงที่เป็นคนจริง จะต้องเป็นคนจริงไปด้วยโดยปริยายเมื่อถึงจุดนี้ผู้ชายไทยใจนักเลงทุกคนจึงต้องหาอาจารย์ศึกษาในทางด้านไสยเวท เพื่อไว้ป้องกันตัวเองบ้าง เพื่อเป็นการเสริมสร้างบารมีให้แก่ตนเองบ้าง เด็กชายเปิ่นจึงต้องขวนขวายหาครูบาอาจารย์ผู้เรืองเวทวิทยาคม เพื่อศึกษาหาวิชามาไว้ป้องกันตัวเอง ได้เวทมนตร์คาถาเอามาท่องจำเป็นอย่างนี้อยู่ตลอดจนกระทั่งได้เข้าฝากตัวเป็นศิษย์ของ พระครูสุวรรณสาธุกิจ (หลวงพ่อแดง) วัดทุ่งคอก ตำบลทุ่งคอก อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ศิษย์เอกของหลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน พระคุณเจ้าเก่งพร้อมทุกด้าน โดยเฉพาะเก่งกล้าเป็นอย่างมากทางด้านกัมมัฏฐานและไสยเวท นี่เองคือจุดเริ่มความเก่งกาจของเด็กชายเปิ่น ในเวลานั้นหลวงพ่อแดง แห่งวัดทุ่งคอก ท่านเสมือนจะทราบว่าเด็กชายเปิ่นคนนี้มีแววแห่งผู้ขมังเวทย์อย่างแน่นอน อีกทั้งจิตอันใสบริสุทธิ์สะอาดผนวกกับเป็นคนจริง ท่านจึงได้ถ่ายทอดในสายวิชาของท่านพร้อมวิชาไสยเวทต่างๆ ให้กับเด็กชายเปิ่นทุกอย่างที่สอนได้ ด้วยความที่ตนเองใฝ่หาวิชาทางนี้โดยตรง ความรู้ที่หลวงพ่อแดงมอบให้เด็กชายเปิ่นจึงได้รับไว้อย่างมากมาย 


๏ เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ 
ด้วยเพราะในช่วงที่เป็นหนุ่มแน่น นายเปิ่นเข้าออกวัดบางพระทุกครั้งขณะที่ว่างจากงาน ใกล้ชิดกับวัดมากและดีที่สุด จนเมื่อถึงเวลาหนึ่งซึ่งนายเปิ่นคิดไปว่าควรจะบวชเรียน เพื่อศึกษาในสายวิชาที่ได้ศึกษามานั้นอย่างจริงจัง ซึ่งวิชาดังกล่าวจะให้ได้ผลอย่างจริงจังจิตใจจะต้องนิ่งสงบ ไม่มีทางใดดีกว่านอกจากบวชเรียนเท่านั้น จึงขออนุญาตโยมบิดา-โยมมารดาว่าอยากจะบวช ซึ่งทั้งสองท่านต่างก็มีความยินดี มีความปลื้มอกปลื้มใจ ที่ลูกมีจิตศรัทธาจะบวชเรียนในบวรพระพุทธศาสนา นอกจากจะได้รับอานิสงส์จากการบวชของลูกแล้ว ก็ยังเป็นการที่ลูกจะตอบแทนพระคุณตามโบราณกาลที่ถือเนื่องกันมาโดยลำดับดังนั้น ในวันที่ ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๙๑ ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๖ ปีกุน ท่านจึงเข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดบางพระ จังหวัดนครปฐม โดยมีพระอธิการหิ่ม อินฺทโชโต เจ้าอาวาสวัดบางพระ (ในเวลานั้น) เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์ทองอยู่ ปทุมรัตน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์เปลี่ยน ฐิตฺธัมโม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับนามฉายาว่า “ฐิตคุโณ” ซึ่งแปลว่า “ผู้มีคุณความดีตั้งมั่นไว้แล้ว” เมื่ออุปสมบทแล้ว ได้ศึกษาพระธรรมวินัยตามหน้าที่ของพระนวกะ ว่างจากงานก็ปรนนิบัติพระอุปัชฌาย์ซึ่งท่านชราภาพมากแล้ว ขณะเดียวกันก็ได้ศึกษาวิชาการต่างๆ จากท่านด้วย ท่านก็ได้ให้ความเมตตาอนุเคราะห์สงเคราะห์ให้ด้วยดี ที่สำคัญของพระปฏิบัติก็คือกัมมัฎฐาน จิตใจเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญที่สุด เวทมนต์คาถาจะขลังหรือศักดิ์สิทธิ์ก็เพราะจิต ด้วยเหตุดังกล่าวหลวงพ่อจึงเน้นการปฏิบัตินี้มาก และได้ฝึกหัดให้ชำนาญ ยิ่งกว่านั้นท่านยังได้รับถ่ายทอดอักขระโบราณ เป็นรูปแบบยันต์ต่างๆ การลงอาคมคาถาตามทางเดินของสายพระเวทย์ กล่าวกันว่าอักขระที่หลวงพ่อเปิ่นลงหรือเขียนนั้น สวยงามมีเสน่ห์เป็นยิ่งนัก ในช่วงเวลา ๔ ปีกว่าๆ ที่อยู่รับใช้และเล่าเรียนวิชาอาคมต่างๆ จากหลวงพ่อหิ่ม ก็รู้สึกภูมิใจมากที่ไม่เสียทีได้เข้ามาบวชในบวรพระพุทธศาสนา ทำให้รู้และเข้าใจในวิชาการต่างๆ และอยู่ปรนนิบัติรับใช้จนถึงกาลที่หลวงพ่อหิ่ม อินฺทโชโต ละสังขาร (มรณภาพ) ซึ่งนับเป็นศิษย์องค์สุดท้ายที่ได้อยู่ปรนนิบัติรับใช้หลวงพ่อหิ่มอย่างไรก็ดี การศึกษาเล่าเรียนใดๆ ไม่มีที่สิ้นสุด แม้นได้รับจากหลวงพ่อหิ่มมาก็ยังไม่อิ่มในรสแห่งพระธรรม เสร็จจากงานฌาปนกิจศพของหลวงพ่อหิ่มแล้ว ก็ตั้งใจจะออกจาริกแสวงหาสัจจธรรมต่อไปอีก และในจุดประสงค์ลึกๆ ของหลวงพ่อเปิ่นนั้นต้องการแสวงหาพระอาจารย์เพื่อศึกษาพระเวทย์ จึงเข้าไปกราบลาหลวงพ่อทองอยู่ ปทุมรัตน พระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์เปลี่ยน ฐิตธมฺโม พระอนุสาวนาจารย์ เพื่อเดินธุดงควัตรแสวงหาธรรมเพิ่มต่อไป พระอาจารย์ทั้งสองต่างก็พลอยยินดี และอนุโมทนาในการที่จะปฏิบัติธรรมเพิ่มยิ่งๆ ขึ้นไป

๏ ฝากตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อโอภาสี 
เมื่อได้รับอนุญาตจากพระอาจารย์ทั้งสองแล้ว หลวงพ่อเปิ่นได้ทราบข่าวกิตติศัพท์เล่าลือว่า ที่ “สำนักสงฆ์อาศรมบางมด” เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ หลวงพ่อโอภาสี (พระมหาชวน) ได้อบรมแนะนำสั่งสอนพระกัมมัฎฐาน โด่งดังมากในเรื่องเตโชกสิณ ได้มีผู้สนใจเข้าไปสมัครเป็นศิษย์กันเป็นจำนวนมาก หลวงพ่อเปิ่นจึงได้เข้าไปฝากตัวเป็นศิษย์ จะเป็นด้วยบุญบารมีที่เคยได้ร่วมกันมาแต่อดีตหรืออย่างไรไม่ทราบ หลวงพ่อโอภาสีเมื่อได้ทราบเจตนาดังนั้น ยินดีต้อนรับและสั่งให้พระจัดสถานที่ให้
หลวงพ่อโอภาสี (พระมหาชวน)
หลวงพ่อเปิ่น ฐิตคุโณ ครั้งยังมีพรรษาไม่มากนัก
๏ การออกเดินธุดงควัตร
เมื่อกราบลาหลวงพ่อโอภาสี จุดหมายปลายทางจะไปทางภาคเหนือก่อน เพราะได้ยินกิตติศัพท์ว่าทางภาคเหนือของประเทศไทยนี้ มีพระอาจารย์ที่ประพฤติดีปฏิบัติชอบเป็นจำนวนมากความไม่อิ่มในธรรมและใคร่จะได้ศึกษาปฏิบัติให้ยิ่งๆ ขึ้น พบอาจารย์ที่ไหนก็จะเข้าไปฝากตัวเป็นศิษย์เพื่อศึกษาธรรมจากท่าน เจริญสมณธรรมอาศัยอยู่ในป่า ตามถ้ำ ตามหุบเขาต่างๆ สิ่งแรกที่ได้รับ คือ ความกลัวหมดไป ประการที่สอง ได้กายวิเวก ประการที่สาม จิตวิเวกจะเกิดขึ้น ผลที่สุดนิรามิสสุขก็จะตามมาสถานที่ออกเดินธุดงควัตร อาทิเช่น เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง แพร่ สุโขทัย กำแพงเพชร อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ และเพชรบูรณ์ ได้ท่องเที่ยวเจริญสมณธรรมทางภาคเหนือเป็นเวลา๒ ปีเศษก็คิดอยากจะเดินทางลงทางใต้บ้างทางภาคใต้มีภูมิประเทศ อากาศ และธรรมชาติสวยงาม ร่มรื่นเย็นสบายดีมาก ทิวทัศน์ชายทะเล ป่าเขาลำเนาไพรไม่แพ้ทางภาคเหนือ ได้เดินทางไปพักและเจริญสมณธรรมตามที่ต่างๆ มีปัตตานี ยะลา นราธิวาส และย้อนกลับขึ้นมาที่สุราษฎร์ธานี ได้กราบนมัสการ “หลวงพ่อพุทธทาสภิกขุ” แห่งสวนโมกขพลาราม (วัดธารน้ำไหล) และ “หลวงพ่อสงฆ์ จนฺทสโร” แห่งวัดเจ้าฟ้าศาลาลอย ตำบลบางลึก อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร
ช่วงนี้ข่าวคราวของท่านเงียบหายไปอย่างสนิท มีเพียงจากคำบอกเล่าของชาวบ้านว่าเจอองค์ท่านบ้าง ชาวเขา ชาวป่า พวกกะเหรี่ยง บอกว่าเจอองค์ท่าน และท่านได้ช่วยเหลือสงเคราะห์ชาวป่าชาวเขามาแล้วบ้าง เป็นดังนี้
๏ รับนิมนต์เป็นเจ้าอาวาส 
กระทั่งปลายปี พ.ศ.๒๕๐๔ บ่ายแก่ของวันหนึ่ง พระธุดงค์วัยเกือบสี่สิบมาปักกลดอยู่ชายทุ่ง ใกล้กับวัดทุ่งนางหลอก อำเภอลาดหญ้า จังหวัดกาญจนบุรี พระธุดงค์องค์นี้ได้สร้างศรัทธาให้แก่ชาวบ้านอย่างมากมาย ทั้งปฏิปทาที่เคร่ง ทั้งสายวิชาพระเวท ทั้งยาสมุนไพรช่วยเหลือชาวบ้าน ยิ่งเกิดศรัทธาอันสูงสุดของชาวบ้านที่พุ่งตรงสู่พระธุดงค์รูปนี้ “หลวงพ่อเปิ่น ฐิตคุโณ” คือองค์พระธุดงค์องค์นั้นประจวบกับวัดทุ่งนางหลอก ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ชำรุดทรุดโทรมมาก ไม่มีเจ้าอาวาส มีเพียงพระภิกษุสงฆ์จำพรรษาอยู่สองสามรูป จนจะกลายเป็นวัดร้างอยู่แล้ว ชาวบ้านจึงเห็นพ้องต้องกันว่าผู้ที่จะช่วยพัฒนาวัดทุ่งนาวัดนางหลอกให้กลับมาคืนมาอีกครั้ง คือองค์พระธุดงค์องค์นี้ จึงได้พร้อมใจกันนิมนต์หลวงพ่อให้ช่วยพัฒนาวัดและเสนาสนะต่างๆ ให้ดีขึ้นเหมือนเดิมและให้หลวงพ่ออยู่เพื่อช่วยเหลือชาวบ้านเป็นที่พึ่งทางใจของพวกเขาต่อไปด้วยความเมตตาธรรมและเห็นว่าพอจะช่วยได้หลวงพ่อจึงรับนิมนต์จะช่วยเป็นผู้นำให้ ท่านได้ใช้ความรู้ความสามารถของท่านทุกวิถีทางเพื่อให้เกิดประโยชน์กับชาวบ้านทั้งหลายที่มีความเดือดร้อนเช่น วิชาแพทย์แผนโบราณ และพระคาถาอาคมต่างๆ ที่จำเป็น ชาวบ้านทั้งหลายต่างมีความชื่นชมศรัทธาเลื่อมใสท่านมากยิ่งขึ้นเพียงระยะเวลาไม่นานที่หลวงพ่อมาสงเคราะห์ การกระทำและการพัฒนาวัดต่างก็ได้รับความร่วมมือ มีสามัคคีดีมากงานยากก็กลายเป็นงานง่ายเมื่อต่างก็ร่วมมือและมีความสามัคคีกันเช่นนี้ในการพัฒนาวัดก็เจริญรุ่งเรืองไปอย่างรวดเร็ว แปลกหูแปลกตาทันตาเห็น เปรียบเหมือนเทวดามาโปรด จึงทำให้ชื่อเสียง “หลวงพ่อเปิ่น” เป็นที่เล่าลือของชาวบ้านกว้างขวางออกไป จากคำบอกเล่าปากต่อปาก ประจวบกับจริยาวัตรอันงดงามของท่านมีวิชาแพทย์แผนโบราณบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้กับทุกคนที่มีความเดือดร้อนรวมทั้งมีวิชาอาคมที่เป็นเลิศ ภายในระยะเวลาไม่ถึง ๒ ปี วัดทุ่งนางหลอก อำเภอลาดหญ้าจังหวัดกาญจนบุรี มีความเจริญรุ่งเรืองมากในช่วงดังกล่าวหลวงพ่อเปิ่นท่านเกิดป่วยกระทันหัน จำเป็นต้องเข้ามารักษาตัวในเมือง ท่านจึงได้กลับมารักษาตัวที่วัดบางพระ ตำบลบางแก้วฟ้า อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ตั้งใจไว้ว่าเมื่อหายป่วยดีแล้วก็จะกลับไปพัฒนาส่วนอื่นที่จะต้องทำอีกต่อไป


๏ รับนิมนต์เป็นเจ้าอาวาส 
กระทั่งปลายปี พ.ศ.๒๕๐๔ บ่ายแก่ของวันหนึ่ง พระธุดงค์วัยเกือบสี่สิบมาปักกลดอยู่ชายทุ่ง ใกล้กับวัดทุ่งนางหลอก อำเภอลาดหญ้า จังหวัดกาญจนบุรี พระธุดงค์องค์นี้ได้สร้างศรัทธาให้แก่ชาวบ้านอย่างมากมาย ทั้งปฏิปทาที่เคร่ง ทั้งสายวิชาพระเวท ทั้งยาสมุนไพรช่วยเหลือชาวบ้าน ยิ่งเกิดศรัทธาอันสูงสุดของชาวบ้านที่พุ่งตรงสู่พระธุดงค์รูปนี้ “หลวงพ่อเปิ่น ฐิตคุโณ” คือองค์พระธุดงค์องค์นั้นประจวบกับวัดทุ่งนางหลอก ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ชำรุดทรุดโทรมมาก ไม่มีเจ้าอาวาส มีเพียงพระภิกษุสงฆ์จำพรรษาอยู่สองสามรูป จนจะกลายเป็นวัดร้างอยู่แล้ว ชาวบ้านจึงเห็นพ้องต้องกันว่าผู้ที่จะช่วยพัฒนาวัดทุ่งนาวัดนางหลอกให้กลับมาคืนมาอีกครั้ง คือองค์พระธุดงค์องค์นี้ จึงได้พร้อมใจกันนิมนต์หลวงพ่อให้ช่วยพัฒนาวัดและเสนาสนะต่างๆ ให้ดีขึ้นเหมือนเดิมและให้หลวงพ่ออยู่เพื่อช่วยเหลือชาวบ้านเป็นที่พึ่งทางใจของพวกเขาต่อไปด้วยควาเมตตาธรรมและเห็นว่าพอจะช่วยได้หลวงพ่อจึงรับนิมนต์จะช่วยเป็นผู้นำให้ท่านได้ใช้ความรู้ความสามารถขอท่านทุกวิถีทางเพื่อให้เกิดประโยชน์กับชาวบ้านทั้งหลายที่มีความเดือดร้อนเช่นวิชาแพทย์แผนโบราณและพระคาถาอาคมต่างๆ ที่จำเป็น ชาวบ้านทั้งหลายต่างมีความชื่นชมศรัทธาเลื่อมใสท่านมากยิ่งขึ้นเพียงระยะเวลาไม่นานที่หลวงพ่อมาสงเคราะห์การกระทำและการพัฒนาวัดต่างก็ได้รับความร่วมมือมีสามัคคีดีมากงายากก็กลายเป็นงานง่ายเมื่อต่างก็ร่วมมือและมีความสามัคคีกันเช่นนี้ในการพัฒนาวัดก็เจริญรุ่งเรืองไปอย่างรวดเร็ว แปลกหูแปลกตาทันตาเห็น เปรียบเหมือนเทวดามาโปรด จึงทำให้ชื่อเสียง “หลวงพ่อเปิ่น” เป็นที่เล่าลือของชาวบ้านกว้างขวางออกไป จากคำบอกเล่าปากต่อปาก ประจวบกับจริยาวัตรอันงดงามของท่าน มีวิชาแพทย์แผนโบราณบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้กับทุกคนที่มีความเดือดร้อนรวมทั้งมีวิชาอาคมที่เป็นเลิศ ภายในระยะเวลาไม่ถึง ๒ ปี วัดทุ่งนางหลอก อำเภอลาดหญ้า จังหวัดกาญจนบุรี มีความเจริญรุ่งเรืองมาก 
ในช่วงดังกล่าวหลวงพ่อเปิ่นท่านเกิดป่วยกระทันหัน จำเป็นต้องเข้ามารักษาตัวในเมือง ท่านจึงได้กลับมารักษาตัวที่วัดบางพระ ตำบลบางแก้วฟ้า อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ตั้งใจไว้ว่าเมื่อหายป่วยดีแล้วก็จะกลับไปพัฒนาส่วนอื่นที่จะต้องทำอีกต่อไป

หลวงพ่อเปิ่น ฐิตคุโณ ในงานฉลองสมณศักดิ์ที่
 “พระอุดมประชานาถ”
๏ สู่วัดบางพระ
ในส่วนของวัดบางพระ ตำบลบางแก้วฟ้า อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม เมื่อหลวงปู่หิ่ม อินฺทโชโต ได้มรณภาพลง และหลวงพ่อเปิ่นออกจาริกแสวงธรรม ทางวัดบางพระจึงเงียบเหงาลง ต่อมา “หลวงพ่อทองอยู่ ปทุมรัตน์” พระกรรมวาจาจารย์ของหลวงพ่อเปิ่น ได้เป็นเจ้าอาวาสสืบต่อจากหลวงปู่หิ่ม จนกระทั่งมรณภาพลงในปี พ.ศ.๒๕๑๖ ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบางพระจึงว่างเว้นลง ชาวบ้านจึงพร้อมใจกันไปกราบอาราธนาหลวงพ่อเปิ่น ให้กลับมาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบางพระ ซึ่งในตอนแรกหลวงพ่อไม่ยอมมา ด้วยสาเหตุว่าไม่มีใครดูแลวัดโคกเขมา ซึ่งเป็นเหมือนกับวัดที่ท่านสร้างขึ้นมาใหม่ ภาระและความรับผิดชอบยังอยู่ที่ท่านในส่วนของญาติโยมชาวโคกเขมานั้น ศรัทธาเคารพรักในองค์หลวงพ่อเป็นอย่างมาก เพราะเปรียบเทียบเสมือนว่าตัวท่านเป็นน้ำทิพย์ชะโลมใจ ท่านเป็นศูนย์รวมพลังศรัทธา เป็นพระนักพัฒนาที่สร้างแต่ความเจริญรุ่งเรืองญาติโยมฝ่ายวัดบางพระ ก็ไม่ได้สิ้นความพยายาม เพียรกราบอาราธนาให้ท่านกลับมาพัฒนาวัดบ้านเกิดของท่านเอง ให้กลับคืนเหมือนเดิม เพราะชาวบ้านทั้งหลายได้ร่วมพิจารณากันแล้ว นอกจากท่านแล้วไม่มีใครที่จะทำให้วัดกลับมาเป็นดังเดิมได้ วัดบางพระมีแต่จะทรุดลงไปเรื่อยๆ ผลที่สุดท่านก็ยอมที่จะมา แต่มีข้อแม้ว่าจะต้องหาพระมาดูแลวัดโคกเขมาให้ได้ก่อน ท่านจึงจะยอมกลับวัดบางพระในครั้งนั้น กล่าวกันว่าชาววัดโคกเขมา เมื่อทราบว่าหลวงพ่อท่านจะต้องกลับไปพัฒนาวัดบางพระ ซึ่งเป็นวัดบ้านเกิดของท่าน เสียดายก็เสียดาย แต่ทำอย่างไรได้เมื่อเหตุมันเกิดก็ต้องยอม แต่ยังอุ่นใจอยู่ว่าถ้ามีอะไรเกิดขึ้นไปกราบปรึกษาหารือท่าน ก็คิดว่าจะได้รับคำแนะนำที่ดีมีประโยชน์ บางทีท่านอาจจะลงมือมาช่วยได้อีก

ในที่สุดหลวงพ่อท่านก็กลับมาพัฒนาวัดบางพระ สมเจตนาของคณะศรัทธาชาวบ้าน นั่นคือการจบชีวิตการออกเดินธุดงค์ของหลวงพ่อเปิ่น


 พระอุโบสถวัดบางพระ ต.บางแก้วฟ้า อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม 


รูปหล่อขนาดใหญ่ของพระอุดมประชานาถ (หลวงพ่อเปิ่น ฐิตคุโณ) ประดิษฐาน ณ วัดบางพระ ต.บางแก้วฟ้า อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม 

๏ ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ 
ด้วยการพัฒนาวัดและชุมชนมาโดยตลอดอย่างต่อเนื่อง ทางมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย (มจร.) ในพระบรมราชูปถัมภ์โดยอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัย ถวายปริญญาบัตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาสังคมศาสตร์ ณ วันที่ ๗ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๓๘ แก่องค์หลวงพ่อ แสดงให้เห็ว่าหลวงพ่อได้เป็นนักสังคมสงเคราะห์ที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งเป็นพระสงฆ์ของประชาชนโดยแท้ ท่านไม่ทิ้งธุระทางการศึกษา พัฒนาสาธารณะประโยชน์เกี่ยวกับการศึกษาไว้มาก เพื่อเป็นแนวทางแก่พระภิกษุ-สามเณรในพระพุทธศาสนา

๏ การมรณภาพ
หลวงพ่อเปิ่น ฐิตคุโณ ได้ละสังขารจากไปอย่างสงบ เมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๔๕ ซึ่งตรงกับวันอาทิตย์ แรม ๖ ค่ำ เดือน ๘ ปีมะเมีย เวลา ๑๐.๕๕ นาฬิกา ณ โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพฯ สิริรวมอายุได้ ๗๙ พรรษา ๕๔ ยังความอาลัยเศร้าโศกเสียใจเป็นยิ่งนักแก่ปุถุชนจิต แต่ได้แสดงให้เห็นถึงมรณัสสติแก่คณะศิษยานุศิษย์ สำหรับคุณงามความดีที่ท่านได้กระทำไว้ในพระพุทธศาสนาอย่างมากมาย จะเป็นตำนานแห่งแผ่นดินไม่ว่าจะเรื่องใดก็ตาม เป็นเครื่องเตือนสติให้พุทธศาสนิกชนได้รู้จักและปฏิบัติสืบสานกันต่อไป

สรีระสังขารหลวงพ่อเปิ่น ฐิตคุโณ 
ประดิษฐาน ณ วัดบางพระ ต.บางแก้วฟ้า อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม 
๏ พระธรรมคำสอน
อาตมาให้คำสอนที่พุทธศาสนิกชนควรยึดถือปฏิบัติ เพื่อความเป็นอยู่ที่ดี และอยู่ในสังคมอย่างมีความสุขดังนี้
(๑) ทำจิตใจให้สว่างก่อนที่จะสอนผู้อื่น
(๒) จงมีความเพียร 
(๓) จงขยันทำงานไม่เกียจคร้าน
(๔) รู้จักอดออม
(๕) คบคนดีเป็นเพื่อน
(๖) จงทำมากกว่าพูด
(๗) เลี้ยงชีพให้สมฐานะของตัวเอง
(๘) จงอย่าเป็นคนลักขโมย
(๙) เว้นจากการประพฤติผิดในกาม 
(๑๐) อย่ากล่าวคำหยาบอันเป็นการก้าวร้าวผู้อื่น 
(๑๑) รู้จักบริจาคทรัพย์
(๑๒) สร้างบุญศลทั้งกลางวันและกลางคืน
(๑๓) ระลึกถึงสังขารไม่เที่ยงเสมอ
(๑๔) มีความกตัญญูต่อบิดามารดา
(๑๕) จงทำตัวให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ
(๑๖) ทำความดีตาย ดีกว่าทำความชั่วตาย 
(๑๗) ไม่เบียดบังทรัพย์สินผู้อื่น
(๑๘) ทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นอยู่เพราะกรรมเก่าตั้งแต่โบราณ
(๑๙) การทำความดีไม่ต้องโอ้อวด 
(๒๐) จงเป็นผู้ให้ 
(๒๑) จงมีความเที่ยงธรรม
(๒๒) มีความซื่อสัตย์สุจริต
(๒๓) ทำงานใหญ่ต้องอดทน
(๒๔) จงยิ้มสู้ จงอยู่อย่างยิ้มสู้กับสิ่งที่ลำบาก 






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
เมือง, อุบลราชธานี, Thailand
(เป็นเจ้าของร้านเต็มตัวแล้ว) บ.หัวเรือ ต.หัวเรือ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี 34000 Tel.085-6307663 E-mail:mon.mon18072@gmail.com Facebook:mon.mon@msn.com

จำนวนการดู